พัดลมกระจายความเย็นคืออะไร

      ปัจจุบันมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นมาก ปัจจัยสำคัญมาจากภูมิอากาศที่ร้อนของประเทศไทย เครื่องปรับอากาศเป็นสิ่ง
จำเป็นสูงสุด ที่ทุกครัวเรือน หรือสำนักงาน มีการติดตั้งเป็นจำนวนมาก และเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญ ที่ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมหาศาล ในแต่ละวัน


       ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้มีความพยายามหลากหลายรูปแบบ เพื่อที่จะทำให้การใช้เครื่องปรับอากาศ สิ้นเปลืองพลังงานให้น้อยที่สุด
เท่าที่จะทำได้ เช่นการเพิ่มค่า EER เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เครื่องปรับอากาศ หรือ วิธีอื่นๆอีกมากมาย

พัดลมกระจายความเย็นคืออะไร
       พัดลมกระจายความเย็นเป็นพัดลมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยกระจายลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของลมเย็นที่มีประสิทธิภาพ และทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง โดยใช้ทฤษฎี Thermal Comfort
Thermal Comfort Theory (ทฤษฎีสภาวะน่าสบาย)
ตัวแปรที่เกี่ยวข องในเรื่องของสภาวะแวดล อมประกอบไปดวย 4 ตัวแปร
            1. อุณหภูมิอากาศ ( Air Temperature)
            2. ความชื้นสัมพัทธ  (Relative Humidity)
            3. ความเร็วลม (Air Velocity)
           4. รังสีความรอน ( Radiation)
พัดลมกระจายความเย็น จะเพิ่มความเร็วลม เพื่อไปลดตัวแปรตัวอื่น

ความเร็วลม (Air Velocity)
ตาราง ความเร็วลมกับความรู สึกของมนุษย
ความเร็วลม
ความรู้สึก
< 0.25 m/s
ไม่รู้สึกว่ามีลม
0.25 - 0.50 m/s
พึงพอใจ
0.50 - 1.00 m/s
รู้สึกว่ามีลม
1.00 - 1.50 m/s
รู้สึกว่าลมรบกวน
> 1.50 m/s
รู้สึกว่าลมรบกวนมาก

จะเห็นวาความเร็วลมที่ระดับ  0.25 - 0.50 m/s (เมตร/วินาที) เป นที่พึงพอใจมากที่สุด แต ก็มีเงื่อนไขอยู  าง ตรงประเด็นที่เป  ลมภายใน หรือภายนอกอาคาร และสภาพอากาศด วยว ารอนหนาวอย่างไร เชนถ าอากาศร อน ความเร็วลม 1  m/s ก็สามารถทําให เป นที่พอใจได  วนภายในอาคารนั้นยอมรับได ถึงประมาณ 1.5 m/s แต  าเปนอากาศหนาว ในห องที่มีเครื่องทําความอุ  ก็ยอมรับให มีลมไดไม เกิน 0.25 m/s
     โดยสรุปของทฤษฎีสภาวะน่าสบาย
         สภาวะน่าสบาย  แปรผันกับ อุณหภูมิอากาศ
         สภาวะน่าสบาย  แปรผันกับ ความชื้นสัมพัทธ์
         สภาวะน่าสบาย  แปรผันกับ ความเร็วลม
         สภาวะน่าสบาย  แปรผันกับ รังสีความร อน

จากหลักการและทฤษฎีดังกล่าว หากเราเพิ่มความเร็วลมและเพิ่มอุณหภูมิแล้วความรู สึกของมนุษย์ยังคงรู้สึก อยู่ในสภาวะสบาย
หากมีการติดตั้งพัดลมกระจายความเย็น ในกิจการค้าปลีกที่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเราสามารถปรับเพิ่มการตั้งค่าอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ   ก็จะไม่ทำให้รู้สึกร้อน จะทำเกิดผลลัพธ์ดังนี้
1. ลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศประมาณร้อยละ  5-15 ต่อการปรับเพิ่มอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ 1 องศาเซลเซียส
2. ลดเวลาการทำงาน  (Duty cycle) ของเครื่องปรับอากาศประมาณร้อยละ  10-20

  รายละเอียดของพัดลมกระจายความเย็น

  
ยี่ห้อสินค้า
กลาร์เต้ ( Clarte' )
ชื่อสินค้า
พัดลมกระจายความเย็น
รุ่นสินค้า
CT501CL
ขนาดใบพัด
14 นิ้ว ( มี 3 แฉก )
รูปแบบใบพัด
แบบหมุนรอบแกน ( Axial )
ระบบไฟฟ้า
1 เฟส , 220 โวลต์ , 50 เฮิรตซ์
ระดับการปรับแรงลม
ระดับลมเบา
ระดับลมปานกลาง
ระดับลมแรง
กำลังไฟฟ้า ( วัตต์ )
20
29
37
แรงลม ( เมตร ต่อ นาที ที่ระยะห่าง 1 ฟุต )
2.9
3.3
3.9
ความเร็วรอบ ( รอบ ต่อ นาที )
1,750
2,150
2,425
ชนิดของมอเตอร์
มอเตอร์กระแสสลับ ระบบรองลื่นแบบตลับลูกปืน ( Ball Bearing )
ระบบป้องกันมอเตอร์
แบบเทอร์โมฟิวส์
ระบบส่าย ( Swing System )
มอเตอร์ส่าย แบบ ซิงโครนัสมอเตอร์ ( Synchronous Motor ) ขนาด 4 วัตต์
ความเร็วรอบ ( รอบ ต่อ นาที )
2.5 รอบ ต่อ นาที
บานเกร็ดส่าย ( Grill Air Swing )
มุมปรับคงที่ 30 องศา  หมุนรอบทุกด้าน
ระบบควมคุมหลัก
ด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ แบบวงจรรวม ( Chip IC )
การควบคุมระยะไกล
รีโมทคอนโทรลแบบไร้สาย ทีระยะ 8 เมตร
ขนาดของแบตเตอรี่รีโมทคอนโทรล
AAA 2 ก้อน
ระบบควมคุมพิเศษ
ตั้งเวลาปิดล่วงหน้าได้ที่ 2 ชั่วโมง , 4 ชั่วโมง และ 6 ชั่วโมง
ชนิดวัสดุหลัก
พลาสติก ABS
สีของสินค้า
ขาว
ขนาดของสินค้า
59.8 x 59.8 x 20 เซนติเมตร
น้ำหนักของสินค้า
4,500 กรัม







รูปลักษณ์สินค้า












รูปแบบการติดตั้ง






 จุดประสงค์ของโครงการ

       พิสูจน์ผลการลดพลังงานของเครื่องปรับอากาศโดยใช้พัดลมกระจายความเย็นช่วยกระจายลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศเพื่อให้เกิดการ
ไหลเวียนของลมเย็นที่มีประสิทธิภาพ และทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง

การทดสอบประสิทธิภาพของพัดลมกระจายความเย็น

ทางทีมงานของเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ได้อนุญาตให้ บริษัท สมาร์ท อีเล็คทริคอล ซัพพลายส์ จำกัด เข้าทำการพิสูจน์ประสิทธิภาพของ
พัดลมกระจายความเย็นโดยการติดตั้งที่ร้าน เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส สาขาลาดพร้าว 64 โดยมีการติดตั้งพัดลมกระจายความเย็นจำนวน 14 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ตรวจวัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศ, ตู้แช่ และอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิภายในร้าน โดยทางบริษัทฯได้ทำการตรวจวัดพลังงานและอุณหภูมิ ก่อนและหลังการติดตั้ง เพื่อทำการเปรียบเทียบการใช้พลังงานจริงของเครื่องปรับอากาศและตู้แช่ และจัดทำเป็นรายงานผลการทดสอบดังกล่าว

ช่วงเวลาการทดสอบและขั้นตอนการปฎิบัติ

ทางทีมงานของบริษัท สมาร์ท อีเล็คทริคอล ซัพพลายส์ จำกัด ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2556 ถึงที่ 10           พฤจิกายน 2556 
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


ภาพประกอบหลังติดตั้งพัดลมกระจายความ

เย็น

       

     

     












 ภาพประกอบหลังติดตั้งอุปกรณ์วัดพลังงานและอุณหภูมิ

              
                                                             

                                       Power Meter Analysis       
                                                       
                              ทำหน้าที่รับสัญญานไฟฟ้าทั้งหมดแล้วจึงส่งข้อมูลไปที่ Data Logger 


Data Logger


          
                                                     ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่ได้จาก Power Meter Analysis
          
                                                                        อุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิและเก็บข้อมูล





 ก่อนการเปิดใช้งานพัดลมกระจายความเย็น

วันที่ 30 ตุลาคม 2556                           ทำการติดตั้งพัดลมกระจายความเย็นพร้อมพร้อมอุปกรณ์ตรวจวัดพลังงาน
                                         ของเครื่องปรับอากาศ, ตู้แช่ และอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิภายในร้าน เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส สาขาลาดพร้าว 64


วันที่ 31 ตุลาคม -1 พฤศจิกายน 2556       เริ่มการบันทึกค่าการใช้พลังงานและอุณหภูมิของร้าน โดยยังไม่ได้เปิดใช้พัดลมกระจายความเย็น ซึ่ง
มีรายละเอียดของอุณหภูมิดังนี้

หมายเลขเครื่องปรับอากาศ
อุณหภูมิที่ตั้งไว้ (องศา)
FCU 1
20
FCU 2
23
FCU 3
23
FCU 4
23

หลังการเปิดใช้งานพัดลมกระจายความเย็น                        
วันที่ 2  10 พฤศจิกายน 2556                เริ่มการบันทึกการใช้พลังงานโดยเปิดใช้พัดลมกระจายความเย็น ในเวลา 11 นาฬิกาของวันที่ 2 พฤศจิกายน 2556 และมีรายละเอียดของอุณหภูมิดังนี้ โดยมีการปิดเครื่องปรับอากาศ FCU 2  ในเวลา 23.00 - 07.00 น.
หมายเลขเครื่องปรับอากาศ
อุณหภูมิที่ตั้งใหม่ (องศา)
FCU 1
23
FCU 2
25
FCU 3
25
FCU 4
25



กราฟแสดงการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศก่อนเริ่มทดสอบพัดลมกระจายความเย็น
วันที่ 31ตุลาคม  1พฤศจิกายน 2556







ก่อนทดสอบพัดลมกระจายความเย็น 2 วัน พบว่าการใช้พลังงานเครื่องปรับอากาศในช่วงเวลา 00.00 -7.30  . และ 18.40 - 00.00 . มีค่าระหว่าง 0.1-0.8 กิโลวัตต์ แสดงถึง
การใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงกว่าการทำงานของเครื่องปรับอากาศตลอดทั้งวัน ที่สูงสุดคือช่วงเวลา 8.10-18.00น. จากเหตุผลดังกล่าว จึงตัดสินใจปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
 2 องศา และปิดเครื่องปรับอากาศระหว่างเวลา 23 .00 - 7.00 น.





กราฟแสดงการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศหลังทดสอบพัดลมกระจายความเย็น
วันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2556









 กราฟแสดงการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศหลังทดสอบพัดลมกระจายความเย็น
วันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2556









ระหว่างวันที่ 3-6พฤศจิกายน 2556 พบว่าในช่วงเวลา 0.00 - 8.00 น. และ 18.40 - 00.00น. กราฟมีค่าลดลงกว่าช่วงก่อนเปิดใช้พัดลมกระจายความเย็น แสดงค่าการใช้
พลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศอยู่ที่ระดับ 0.1-0.3กิโลวัตต์ ทั้งสองช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น เมื่อเปรียบเทียบก่อนใช้พัดลมกระจายความเย็น ค่าของการใช้

พลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 0.1-0.8 กิโลวัตต์ ซึ่งแตกต่างกันอยู่ที่ 0.1-0.5 กิโลวัตต์

กราฟแสดงการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศหลังทดสอบพัดลมกระจายความเย็น
วันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2556









ระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2556 เป็นช่วงฝนตก สภาพอากาศครึมฟ้า ครึมฝน ทำให้เราเห็นค่าของการใช้พลังงานไฟฟ้า ในช่วงเวลา 0.00 -8.30 น. และ ช่วง 21.00-

24.00 น. ในระดับต่ำลงมาก กว่าในช่วงเดียวกันของวันที่ 3-6 พฤศจิกายน 2556 แสดงให้เห็นว่าการใช้พัดลมกระจายความเย็นควบคู่ไปกับการปิดเครื่องปรับอากาศใน

ระหว่าง 23.00-7.00 น. ให้ผลในการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าปกติที่ไม่ได้ติดพัดลม

กราฟแสดงการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศหลังทดสอบพัดลมกระจายความเย็น
วันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2556








ระหว่างวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2556 เป็นช่วงที่อากาศร้อน กราฟแสดงการใช้พลังงานไฟฟ้าในระดับสูง และมีวงกว้างของระยะเวลามากกว่าวันที่ผ่านมา แต่หากเทียบ

กับวันที่ไม่ได้ติดตั้งพัดลมกระจายความเย็น ระหว่าง 31ตค.-1 พย. ความกว้าง ก็ยังน้อยกว่า และระดับการใช้พลังงานไฟฟ้า ก็ต่ำกว่า

กราฟเปรียบเทียบการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศก่อนและหลังทดสอบพัดลมกระจายความเย็น
วันที่ 31 ตุลาคม  1 พฤศจิกายน 2556  ก่อนติดตั้ง (กราฟสีแดง)
วันที่ 3 - 10 พฤศจิกายน 2556  ก่อนติดตั้ง  (กราฟสีฟ้า)








 กราฟเปรียบเทียบการใช้พลังงานของตู้แช่ก่อนและหลังทดสอบพัดลมกระจายความเย็น
วันที่ 31 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2556  ก่อนติดตั้ง (กราฟสีแดง)
วันที่ 3 - 6 พฤศจิกายน 2556  ก่อนติดตั้ง  (กราฟสีฟ้า)
กราฟเปรียบเทียบอุณหภูมิภายในร้านก่อนและหลังทดสอบพัดลมกระจายความเย็น

กราฟแสดงการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศต่อ 1 วัน ก่อนและหลังเริ่มทดสอบพัดลมกระจายความเย็น
วันที่ 31 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2556
แท่งกราฟ สีดำ คือ Load เครื่องปรับอากาศ ก่อนติดตั้ง
แท่งกราฟ สีเหลือง คือ Load เครื่องปรับอากาศ หลังติดตั้ง
แท่งกราฟ สีฟ้า คือ Load เครื่องปรับอากาศ หลังติดตั้ง
*ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2556 ได้ทำการเปิดพัดลมกระจายความเย็น และปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น เริ่ม 11.40 น.
*ได้มีการปิดเครื่องปรับอากาศ จำนวน 1 เครื่อง ในเวลา 23.00 - 7.00 น

ตารางการอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ
 
ภาพประกอบของ Room Thermostat Control








 กราฟแสดงการใช้พลังงานของตู้แช่ต่อ 1 วัน ก่อนและหลังเริ่มทดสอบพัดลมกระจายความเย็น

แท่งกราฟ สีแดง คือ Load ตู้แช่ ก่อนติดตั้ง
แท่งกราฟ สีน้ำเงิน คือ Load ตู้แช่ หลังติดตั้ง
แท่งกราฟ สีเขียว คือ Load ตู้แช่ หลังติดตั้ง
*ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2556 ได้ทำการเปิดพัดลมกระจายความเย็น และปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น เริ่ม 11.40 น.
*ได้มีการปิดเครื่องปรับอากาศ จำนวน 1 เครื่อง ในเวลา 23.00 - 7.00 น.
ตารางสรุปข้อมูลหน่วยการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศและตู้แช่

กราฟแสดงการใช้พลังงานของตู้แช่ต่อ 1 วัน ก่อนและหลังเริ่มทดสอบพัดลมกระจายความเย็น

แท่งกราฟ สีแดง คือ Load ตู้แช่ ก่อนติดตั้ง
แท่งกราฟ สีน้ำเงิน คือ Load ตู้แช่ หลังติดตั้ง
แท่งกราฟ สีเขียว คือ Load ตู้แช่ หลังติดตั้ง
*ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2556 ได้ทำการเปิดพัดลมกระจายความเย็น และปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น เริ่ม 11.40 น.
*ได้มีการปิดเครื่องปรับอากาศ จำนวน 1 เครื่อง ในเวลา 23.00 - 7.00 น.
ตารางสรุปข้อมูลหน่วยการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศและตู้แช่




POWER MEASUREMENT DATA; ACTUAL ENERGY SAVINGS
Descriptions
Energy Savings (Pre Retrofit and Post Retrofit)
Air Conditioning System

Pre Retrofit Consumption (Before)
Period 31th Oct. to 1st Nov 2013



201.73  kWh/Day
Post Retrofit Consumption (After)
Period 2nd to 10th Nov 2013


120.99 kWh/Day
Actual Energy Saving
Or equal to%
80.74 kWh/Day
40.02%
Project Financial Benefits : ROI
Electrical Tariff Rate; Estimated


3.80 THB/kWh
Actual Energy Savings From Mock up
80.74 kWh/Day
Estimate Energy Saving/Day
(80.74 kWh x 3.80 THB/kWh)


306.81 Baht/Day
Estimate Energy Saving/Month
(306.81 THB x 30 Days)


9,204.36 Baht/Month
Estimate Energy Saving/Year
(9,204.36 THB x 12 Months)


110,452.32 Baht/Year
Estimate Cost of Investment
Total Store Area
200 SQM
Air Flow Fan Cost per Store(12 unit/store)
30,000 THB
Installation Cost per Store(12 unit/store)
18,000  THB
Delivery Cost per Store
4,000  THB
Travelling Expense per Store
4,500  THB
Mini PLC Air Controller Timer and Installation
Each Timer is Capable to control 4 units of Air condition
20,500  THB
Total estimated investment  cost
77,000 THB
Payback
(77,000 Baht/110,452.32 Baht)


0.67 Year or 8.4  Months
Return on Investment
(110,452.32 Baht/77,000 Baht)


143.44%
Life Cycle Cost Analysis
Warranty from Supplier


2 Years for Main Motor/ 1 Year for all Parts
Critical spare parts cost
: The cost will appear only after first year of operation
1.Main Motor Cost  1,050 THB/Pcs. Discount 20% = 840THB/Pcs.10% Change/Year = 1 Unit/Store =840 THB/2 Year or 420THB/Year
2.Swing Motor Cost 200 THB/Pcs. Discount 20%=160 THB/Pcs.50% Change/2Year=12 Unit/Store= 160x6= 960THB/Year
3.Service Charge 400/Job =7x400 =2,800THB/Year
Total service cost per year
Main Motor + Swing Motor + Service Charge = 420+960+2,800 = 4,180THB








Share on Google Plus

About Unknown

ADMIN Clartethailand ฝ่ายขายออนไลน์ลูกค้าต้องการซื้อพัดลมกระจายความเย็นจำนวนมากเพื่อไปติดให้ทางเราทำใบเสนอราคาได้ ติดต่อฝ่ายขายออนไลน์ 02-9192311 ต่อ 301-302
    Blogger Comment
    Facebook Comment